22 เรื่องเกี่ยวกับซูชิที่คุณไม่เคยรู้

sushi

หลังจากที่เราเก็บบ้านก็บังเอิญไปเจอบทความน่าสนใจเกี่ยวกับซูชิ ทั้งหมด 22 เรื่อง ก็เลยอยากนำมาแบ่งปันกับทุกคนค่ะ

  1. ต้องใช้เวลาฝึกอบรมมากกว่า 10 ปี เพื่อก้าวมาเป็นเชฟซูชิ หรือเรียกว่า itamae (อยู่หน้าเคาน์เตอร์) ก่อนจะก้าวมาเป็นเชฟได้ต้องเริ่มจากขั้นแรกสุดคือทำความสะอาดและอีกนานกว่าจะได้เข้าใกล้เขียง
  2. ในอดีตผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเชฟซูชิเนื่องจากมีความเชื่อว่ามือที่อุ่นกว่าผู้ชาย และน้ำหอมจะทำให้รสชาติและคุณภาพของปลาแย่ลง
  3. ซูชิในสมัยก่อน “Noren” ผ้าม่านที่แสนสกปรกเป็นตัววัดว่าร้านซูชิไหนเป็นร้านที่ดีที่สุด ลูกค้าจะเช็ดมือของพวกเขาบนผ้าม่านเมื่อออกจากร้าน ดังนั้น Noren ยิ่งสกปรกก็หมายความว่าร้านนี้มีลูกค้าจำนวนมาก
  4. Sushi หรือ Zushi กันแน่ คุณอาจได้ยินทั้งสองคำซึ่งเป็นเพราะคำว่า Sushi เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปไม่ได้เป็นประเภทที่เฉพาะเจาะจง แต่ Zushi ถูกใช้เมื่อพูดถึงซูชิแบบเฉพาะเช่น Maki zushi, Inari zushi
  5. ซูชิมีให้เลือกมากมาย เช่น นิงิริคือข้าวผสมน้ำส้มสายชูปั้นเป็นลูกกลมๆ ที่มีปลาสดอยู่ด้านบน กุงกังหรือเรือรบ คือซูชิห่อด้วยสาหร่ายทะเลเพื่อวางทอปปิ้งไว้ด้านบน เทมากิคือซูชิที่ใช้มือม้วน และมากิซูชิคือซูชิแบบม้วนที่มีความหนาที่แตกต่างกัน อินาริซูชิเป็นซองเต้าหู้หวานทอดเต็มไปด้วยข้า เทมาริคือซูชิที่เป็นลูกบอลข้าวขนาดพอดีคำมีท้อปปิ้ง และชิราชิซูชิ ทำโดยโรยท้อปปิ้งหลากหลายรสชาติบนแผ่นข้าวผสมน้ำส้มสายชู
  6. ถึงแม้ว่าตอนนี้มีเมนูซูชิระดับไฮเอนด์ก็ตาม แต่สมัยก่อนซูชิถือเป็นอาหารจานด่วนที่พ่อค้านิยมรับประทานเป็นอาหารกลางวันในยุคเอโดะ
  7. ข้าวซูชิที่ผสมกับน้ำส้มสายชูเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ชูเมชิ ในขณะที่ลูกบอลข้าวที่ถูกกดลงในแม่พิมพ์ทำไว้สำหรับนิงิริเรียกว่า ชาริ และท้อปปิ้งคื เนตา
  8. เมื่อทำนิงิริซูชิ น้ำหนักที่เหมาะสำหรับชาริควรอยู่ที่ประมาณ 20-25 กรัม อย่างไรก็ตามในยุคเอโดะนิงิริซูชิมีขนาดประมาณ 3 เท่าของซูชิในปัจจุบัน
  9. เดิมข้าวสำหรับทำซูชิถูกโยนทิ้ง ไม่กินกับปลา ข้าวถูกใช้เป็นวิธีการเก็บรักษาเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ปลา และช่วยในการหมักเป็นเวลาหลายเดือนจากนั้นจึงโยนข้าวทิ้งไป เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนเริ่มเปลี่ยนมากินซูชิหลังจากการหมักที่สั้นและสั้นลงเรื่อยๆ และเริ่มกินข้าว เมื่อข้าวถูกหมักเพียงสองสามวัน
  10. น้ำส้มสายชูถูกเพิ่มลงในข้าวทำซูชิเพื่อเลียนแบบรสชาติของการหมัก (เมื่อนิยมกินซูชิจากการหมักที่สั้นลง) และให้คุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย

11. มีดซูชิแบบดั้งเดิมจะรับให้คมเพียงด้านเดียวเท่านั้น อีกด้านหนึ่งจะแบนซึ่งทำให้ตัดปลาได้โดยไม่ทิ้งขอบที่ขรุขระ

12. เฉพาะด้านบนปลาบนนิงิริเท่านั้นที่จะถูกจุ่มลงในโชยุไม่ใช่ข้าว

13. ควรรับประทานซซูชิจากสีอ่อนสุดไปยังสีเข้มสุด เนื่องจากปลาที่มีสีเข้มกว่ามักจะมีรสที่เข้มข้นกว่าและจะทิ้งรสชาติไว้บนลิ้นคุณ แต่ถ้าทาน Omakase (ตัวเลือกของเชฟ) ควรกินตามลำดับที่เชฟนำเสนอแทนการเลือกกิน

14. วาซาบิถูกเพิ่มในซูชิเพื่อลดกลิ่นคาวและช่วยดึงรสชาติของปลา นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ต้านเชื้อแบคทีเรียจากธรรมชาติ ยับยั้งจุลินทรีย์ที่เป็นตัวก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ

15. ซูชิที่ราคาแพงสุดในประวัติศาสตร์เป็นซูชิ 5ชิ้นที่ห่อด้วยแผ่นทอง 24 กะรัตและประดับด้วยเพชรแท้ โดย Angelito Araneta,Jr จากประเทศฟิลิปปินส์ มูลค่า 2,000 USD

16. เมื่อก่อนซูชิกินด้วยนิ้วมือไม่ใช่ตะเกียบ ปัจจุบันคุณจะเห็นการรับประทานซูชิแบบนี้ที่ร้านอาหารซูชิระดับไฮเอนด์มากกว่าที่ร้านซูชิแบบสายพาน

17. เอะโฮมากิ แปลว่าซูชิโชคดี เป็นม้วนซูชิแบบหนาที่กินในเทศกาลเซ็ทสึบุน หรือเทศกาลเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ผลิที่จัดขึ้นในเดือยกุมภาพันธ์ หากกินทั้งม้วนโดยไม่หยุดขณะหันหน้าไปทางเข็มทิศอันเป็นมงคลที่กำหนดทิศไว้สำหรับปีนั้น

18. คนรักซูชิหลายคนชอบพลิกนิงิริซูชิเวลาทานเพื่อให้ด้านปลาอยู่บนลิ้นจะได้รับรสปลาเต็มที่

19. วันซูชินานาชาติจัดขึ้นทุกปีในวันที่ 1 มิถุนายน และมีขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2552 เพื่อให้เป็นวันที่ผู้คนทั่วโลกได้แสดงความรักต่อซูชิ

20. ซูชิจานหมุน ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปีพ.ศ.2501 ที่โอซาก้า โดย Yoshiaki Shiraishi เป็นแนวคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการสังเกตขวดเบียร์บนสายพานลำเลียงในโรงเบียร์อาซาฮี

21. ความเร็วอุดมคติของสายพานคือ 8 ชม. /วินาที

22. อาการิ เป็นชื่อพิเศษสำหรับผงชาเขียวที่เสิรฟ์ที่ร้านซูชิ กล่าวกันว่ารสชาติที่ขมเป็นรสที่จะเสริมซูชิได้ดีที่สุดและเพื่อทำความสะอาดเพดานปากหลังจากทานปลาที่มีรสชาติเข้มข้นและมันกว่าเข้าไป

รูปภาพประกอบ ร้าน Sushi Rin

ที่มา หนังสือ Adventure Japan vol 12

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s